Page 13 - Anticor-MOI61
P. 13

2. ด้านการป้องปราม โดยให้ (1) มีมาตรการควบคุม ก ากับ ติดตาม การบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ และ
          ภาคเอกชนโดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรง (Integrity) สุจริตของบุคลากร ใช้ดุลยพินิจโดยสุจริตภายใต้กรอบ

          ธรรมาภิบาลและการก ากับกิจการที่ดีอย่างแท้จริง (2) มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภาครัฐ  ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและ
          ตรวจสอบได้ และสนับสนุนแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนในการต่อต้านการทุจริตเพื่อขจัดปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการ
          ติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ

                 3. ด้านการปราบปราม โดยให้ (1) ยกระดับการบังคับใช้มาตรการทางวินัย มาตรการทางปกครอง หรือมาตรการ
          ทางกฎหมายต่อเจ้าพนักงานของรัฐที่ถูกกล่าวหาว่าประพฤติมิชอบหรือกระท าการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเคร่งครัด (2)
          ปรับปรุงประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอน (ไต่สวน ชี้มูล ฟ้องศาล พิพากษา) ทั้งแพ่งและ

          อาญาให้รวดเร็ว รุนแรง เด็ดขาด เป็นธรรมเสมอภาค โดยเฉพาะมีการจัดท าและบูรณาการฐานข้อมูลคดีทุจริตตลอดจนเร่งรัด
          การติดตามน าทรัพย์สินที่เกิดจากการกระท าผิดทั้งในประเทศ และต่างประเทศให้ตกเป็นของแผ่นดิน และในกรณีที่ยังไม่มี
          กฎหมายที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ก็ให้เร่งบัญญัติเพิ่มเติม

                 4. ด้านการบริหารจัดการ โดยให้มีกลไกที่เหมาะสมในการประสานงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต
          ประพฤติมิชอบ ในระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ เพื่อให้ประเทศไทยปลอดทุจริต

          1.4 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564)







































                 ประเทศไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า จะมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมเป็นสังคมมิติใหม่ที่

          ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนประชาชน
          ในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชน เพื่อให้ประเทศไทย มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในด้านความโปร่งใส
          ทัดเทียมนานาอารยประเทศและมีเป้าหมายในการยกระดับคะแนนของดัชนีการรับรู้ การทุจริต (Corruption Perceptions

          Index : CPI) สูงกว่าร้อยละ 50 โดยก าหนดยุทธศาสตร์การด าเนินงานหลักออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
                 ยุทธศาสตร์ที่ 1 “สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” มุ่งเน้นให้ความส าคัญในกระบวนการการปรับสภาพสังคมให้เกิด
          สภาวะที่ “ไม่ทนต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัยเพื่อสร้าง

          วัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นการด าเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่มตัว
          แทนที่ท าหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางสังคมให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี ที่มีจิตสาธารณะ จิตอาสา และความเสียสละเพื่อ
          ส่วนรวม และเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ                    3
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18